องค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา : www.thajalung.go.th

 
 
 


โครงการอบรมความรู้ให้แก่เกษตรกรตำบลท่าจะหลุงฯ


โครงการอบรมความรู้ให้แก่เกษตรกรตำบลท่าจะหลุงและดูงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ 2558 …………………………………………………………………… 1. ชื่อโครงการ โครงการอบรมความรู้ให้แก่เกษตรกรตำบลท่าจะหลุงและดูงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ 2558 2. หลักการและเหตุผล ความสอดคล้อง 2.1 หลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทาง ที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลาและเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤต เพื่อความมั่นคงและยั่งยืนของการพัฒนา ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานทางสายกลางและการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี 2.2 นโยบายรัฐบาล ตามนโยบายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาลปัจจุบัน ให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ของเกษตรกร ซึ่งที่ผ่านมามีนโยบายในการช่วยเหลือดูแลเกษตรกรรายย่อยและประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการลดต้นทุนการผลิต โดยขอความร่วมมือจากภาครัฐและผู้ประกอบการ ภาคเอกชน ลดราคาปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูก ในปีการผลิต 2557/2558 เช่น ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์ และค่าเช่าที่ดิน รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ปลอดภัย ตลอดห่วงโซ่การผลิต 2.3 แผนพัฒนา 3 ปี องค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง พ.ศ.2558 – 2560 ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ 4 การบริหารราชการแบบบูรณาการตามหลักธรรมาภิบาล ยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อปท. ในเขตจังหวัดที่ 8 ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี แนวทางที่ 2 ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและองค์กรให้มีขีดความสามารถในการพัฒนา ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยึดทางสายกลางบนพื้นฐานของความสมดุลพอดี รู้จักประมาณอย่างมีเหตุผล มีความรอบรู้เท่าทันโลก เน้นแนวทางในการดำเนินชีวิต เพื่อมุ่งให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย ซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาลปัจจุบัน ได้น้อมนำมาเป็นนโยบายและพัฒนาให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ของเกษตรกร เน้น “คน” เป็นศูนย์กลางการพัฒนา อีกทั้งการพัฒนานั้นจะต้องเริ่มตั้งแต่คนที่อยู่ในระดับครัวเรือน ระดับท้องถิ่น จึงจะเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำหรับการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ตำบลท่าจะหลุง อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา อยู่ภายใต้การบริหารจัดการดูแลโดยองค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง มีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาในเขตพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชน ตามภารกิจที่ถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552 มาตรา 68 (7) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550 และรวมกฎหมายอื่น รวมทั้งสอดรับกับภารกิจ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่นเป็นสำคัญ ส่วนใหญ่ปัญหาด้านการเกษตร เกิดจากตัวเกษตรกรยังขาดความรู้ความเข้าใจในการประกอบ อาชีพเกษตรกรรม ขาดความรู้ในเรื่องพันธุ์ การวางแผนการปลูกพืช การใช้พื้นที่เพาะปลูกพืชและใช้พันธุ์พืชซ้ำๆ ไม่เหมาะสมต่อสภาพพื้นที่ ส่งผลทำให้เกิดโรคและแมลง ประสบปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ต้องใช้ต้นทุนการผลิตพืชสูง เกษตรกรขาดการรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ 30,420.50 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 80.79 เป็นพื้นที่ทำการเกษตร เกษตรกรจะปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง และอ้อย จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น องค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง ได้เล็งเห็นปัญหาด้านการเกษตร เห็นความสำคัญของเกษตรกร เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่ในตำบลท่าจะหลุง มาจากอาชีพเกษตรกรรม “เกษตรกร” คือ บุคคลที่สำคัญเห็นควรที่จะพัฒนาที่ตัวบุคคล (เกษตรกร) ก่อน เมื่อคนเกิดการพัฒนาทั้งด้านความรู้วิชาการ การปฏิบัติอย่างถูกต้อง จะส่งผลทำให้เกษตรกรมีความรู้ในการแก้ไขปัญหา เกิดความคิดสร้างสรรค์ และใช้ความสามารถที่มีอยู่อย่างเต็มศักยภาพ นำความรู้ที่ได้รับมาเป็นแนวทางให้การพัฒนาการเกษตรของตนเอง เกิดการรวมกลุ่ม พัฒนาการเกษตรระดับตำบล นำไปสู่การพัฒนาในด้านอื่นๆ อย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้องค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง ได้จัดทำโครงการอบรมความรู้ให้แก่เกษตรกรตำบลท่าจะหลุงและดูงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ 2558 ขึ้น 3. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมและเพิ่มพูนความรู้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ตำบลท่าจะหลุง เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมในพื้นที่ของเกษตรกรเอง 2. เพื่อส่งเสริมความรู้แก่เกษตรกรให้มีความรู้ด้านการเกษตร การผลิตพืช พันธุ์พืช วิธีการลดต้นทุน ผลิตพืช การรวมกลุ่ม การบริหารจัดการต่าง ๆ ในด้านการเกษตร 3. เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิชาการ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่าง เกษตรกร เจ้าหน้าที่ ผู้นำชุมชน และหน่วยงานต่าง ๆ 4. เป้าหมาย 4.1 เกษตรกรที่ประกอบการเกษตรของแต่ละหมู่บ้านในตำบลท่าจะหลุง จำนวน 150 คน 4.2 เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในการฝึกอบรม จำนวน 6 คน 4.3 ผู้สังเกตการณ์ จำนวน 4 คน - ผู้บริหารท้องถิ่น - รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง - ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง - เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง รวมทั้งสิ้น 160 คน 5. วิธีดำเนินการ 1. จัดทำโครงการฯ เพื่อขออนุมัติต่อผู้บริหารท้องถิ่น 2. ประชาสัมพันธ์โครงการ ฯ ผ่านทางหอกระจายข่าวและทางเว็บไซต์ 3. ส่งหนังสือประชาสัมพันธ์ให้ผู้นำชุมชนแต่ละหมู่บ้าน ประกาศและรับสมัครเกษตรกรที่สนใจ 4. การเปิดรับสมัครเกษตรกรที่สนใจ โดยใช้แบบตอบรับการเข้าร่วมโครงการ ฯ 5. กำนันตำบล/ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน รวบรวมเอกสารการรับสมัครตามแบบตอบรับการเข้าร่วมโครงการ และนำส่งยังองค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง จำนวน 1 ชุด 6. ติดต่อประสานงานบุคคล หน่วยงานราชการ เอกชนที่เกี่ยวข้องรวมทั้งสำรวจข้อมูล จัดหาสถานที่ ที่จะดำเนินโครงการฯ เพื่อขอรับการสนับสนุนวิทยากรและสถานที่ 7. จัดอบรมส่งเสริมความรู้ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ตำบลท่าจะหลุง และนำไปฝึกอบรมและดูงาน ณ จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 8.สรุปและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ ฯ เสนอต่อผู้บริหารท้องถิ่น 6. งบประมาณดำเนินการ เบิกจ่ายจากข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล เรื่อง งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน งานส่งเสริมและสนับสนุนความเข้มแข็งชุมชน งบดำเนินงาน ค่าใช้สอย ประเภทรายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายหมวดอื่น ๆ (หน้า 18/21) จำนวนเงิน 107,000.-บาท (หนึ่งแสนเจ็ดพันบาทถ้วน) และโอนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 ครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2557 จำนวนเงิน 230,000 บาท รวมงบประมาณตั้งไว้ 337,000 บาท ขอเบิกจ่ายตามโครงการ ฯ เป็นเงินทั้งสิ้น 335,800 บาท โดยขอถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ มีค่าใช้จ่ายดังนี้ วันแรก 1. ค่าสมนาคุณวิทยากร 6 ชั่วโมง X 600 บาท = 3,600 บาท 2. ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม 150 คน X 60 บาท = 9,000 บาท 3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 150 คน X 35 บาท X 2 มื้อ = 10,500 บาท 4. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ = 500 บาท รวมเป็นเงิน 23,600 บาท วันที่สอง 1. ค่าจ้างเหมายานพาหนะ 32,500 บาท X 3 คัน = 97,500 บาท 2. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง (รถยนต์ส่วนกลางของอบต.) = 5,000 บาท 3. ค่าของสมนาคุณในการดูงาน 1,500 บาท X 3 ชิ้น = 4,500 บาท 4. ค่าสมนาคุณวิทยากร 6 ชั่วโมง X 600 บาท = 3,600 บาท 5. ค่าอาหารเช้า (อัตราการฝึกอบรมในสถานที่ของส่วนราชการ) 160 คน X 80 บาท = 12,800 บาท 6. ค่าอาหารกลางวัน (อัตราการฝึกอบรมในสถานที่ของส่วนราชการ) 160 คน X 120 บาท = 19,200 บาท 7. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 160 คน X 35 บาท X 2 มื้อ = 11,200 บาท 8. ค่าอาหารเย็น (อัตราการฝึกอบรมในสถานที่ของส่วนราชการ) 160 คน X 150 บาท = 24,000 บาท (อัตราในสถานที่ราชการ ครบทุกมื้อไม่เกิน 500 บาท เบิก 80+120+150= 350 บาท) 9. ค่าเช่าที่พัก 600 บาทต่อคน พร้อมอาหารเช้า 600 บาท X 160 คน = 96,000 บาท รวมเป็นเงิน 273,800 บาท วันที่สาม ค่าอาหารเช้า ไม่เบิก 1. ค่าอาหารกลางวัน (อัตราการฝึกอบรมในสถานที่ของส่วนราชการ) 160 คน X 120 บาท = 19,200 บาท 2. ค่าอาหารเย็น (อัตราการฝึกอบรมในสถานที่ของส่วนราชการ) 160 คน X 120 บาท = 19,200 บาท รวมเป็นเงิน 38,400 บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 335,800 บาท 7. สถานที่ดำเนินการ 7.1 ฝึกอบรม 1 วัน ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง 7.2 ฝึกอบรม 1 วัน ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี 7.3 ดูงาน 1 วัน ณ จังหวัดสุพรรณบุรี, กาญจนบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 8.ระยะเวลาดำเนินการ วันที่ 15-17 ธันวาคม 2557 ระยะเวลา 3 วัน 9. หน่วยงานรับผิดชอบ ส่วนส่งเสริมการเกษตร และสำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา 10.การติดตามประเมินผล -โดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 60 ของผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจในโครงการ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 11.1 เกษตรกรได้รับความรู้เรื่องแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาปรับใช้ในการวางแผนประกอบอาชีพและถ่ายทอดต่อไปยังชุมชนของตนเองได้ 11.2 เกษตรกรได้รับความรู้ด้านวิชาการเกษตร การผลิตพืช พันธุ์พืช วิธีการลดต้นทุนผลิตพืช การรวมกลุ่ม การบริหารจัดการต่าง ๆ ในด้านการเกษตร สามารถนำความรู้มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนการผลิต พัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 11.3 เกษตรกรได้รับแนวความคิดใหม่ ๆ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างเกษตรกรด้วยกัน เกษตรกรต่างพื้นที่ เจ้าหน้าที่ ผู้นำชุมชน และหน่วยงานต่าง ๆ นำมาพัฒนาในแปลงของตนเองต่อไป 11.4 เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกร 12. ผู้เขียน / เสนอโครงการ (ลงชื่อ)............................................................. (นางอำไพ สังเกตุ) หัวหน้าส่วนการเกษตร 13.ผู้เห็นชอบโครงการ (ลงชื่อ)............................................................ (นายราเชนทร์ ประกอบกิจ) ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง (ลงชื่อ)............................................................. (นายสมาน ศรีกระโทก) รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง 13.ผู้เห็นชอบโครงการ (ต่อ) (ลงชื่อ)............................................................. (นายประมวล ดวดกระโทก) รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง 14.ผู้อนุมัติโครงการ (ลงชื่อ)............................................................. (นายมานิตย์ นิจกระโทก) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง




2024-08-15
2024-03-18
2024-03-06
2024-02-02
2024-01-05
2023-10-03
2023-09-12
2023-08-10
2023-08-10
2023-06-02