องค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา : www.thajalung.go.th

 
 
คลังความรู้ (KM)


การถ่ายโอนภารกิจของกรมส่งเสริมฯ ให้อปท.

    รายละเอียดข่าว

การถ่ายโอนภารกิจของกรมส่งเสริมการเกษตร ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ความเป็นมาและลักษณะเฉพาะของภารกิจถ่ายโอน การถ่ายโอนภารกิจอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ถูกกำหนดเป็นกฎหมายใช้บังคับให้ส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ได้ถือปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 119 ตอนพิเศษ 23ง วันที่ 13 มีนาคม 2545 มีผลผูกพันให้ส่วนราชการ 50 กรม (เดิม) ต้องถ่ายโอน 245 ภารกิจ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งในส่วนของกรมส่งเสริมการเกษตร มีภารกิจที่ต้องถ่ายโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน 3 ด้าน จำนวน 11 ภารกิจ คิอ 1. ด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่ถ่ายโอน 9 ภารกิจ คือ 1. การสำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร 2. การจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบล 3. การบริการข้อมูลและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ 4. การรวบรวมส่งเสริมพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น 5. การช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ (ภารกิจนี้อยู่ระหว่างแก้กฎหมาย) 6. การสำรวจช่วยเหลือป้องกันกำจัดศัตรูพืช 7. การฝึกอบรมอาชีพการเกษตร 8. การรวมกลุ่มและพัฒนากลุ่ม 9. การกระจายพันธุ์ 2. ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พานิชยกรรมและการท่องเที่ยวมีภารกิจที่ถ่ายโอน 1 ภารกิจ คือ ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรชุมชน 3. ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม มีภารกิจที่ถ่ายโอน 1 ภารกิจ คือการปรับปรุงพื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (หมายเหตุ ภารกิจนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้ขอยกเลิกเนื่องจากไม่ใช่ภารกิจของกรมส่งเสริมการเกษตร ตามหนังสือกรมฯ ที่ กษ 1003/22148 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2545) สำหรับภารกิจการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ ขณะนี้ยังถ่ายโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ได้ เนื่องจากต้องแก้ไขระเบียบกระทรวงการคลัง แผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามมาตรา 32(1) มีรูปแบบการถ่ายโอน 3 ลักษณะ คือ 1. ภารกิจที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการเอง 2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการร่วมกับรัฐ 3. ภารกิจที่รัฐดำเนินการอยู่แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการได้ ลักษณะภารกิจที่ถ่ายโอน มี 2 ประเภท คือ 1. เลือกทำโดยอิสระ 2. หน้าที่ที่ต้องทำ โดยสรุปลักษณะภารกิจที่ถ่ายโอนของกรมส่งเสริมการเกษตร ส่วนใหญ่เป็นแบบ “เลือกทำโดยอิสระ” โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทำงานร่วมกับรัฐ โดยรัฐเป็นผู้สนับสนุนทางวิชาการ และ อปท. เป็นผู้ปฏิบัติ ยกเว้นภารกิจการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติที่ อปท. ดำเนินการทั้งหมดและทุกภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ ที่ อปท. ดำเนินการทั้งหมดและทุกภารกิจที่ถ่ายโอนของกรมฯ ไม่มีการถ่ายโอนทรัพย์สินและบุคลากร **************************************************************************** แนวทางดำเนินการถ่ายโอนภารกิจกรมส่งเสริมการเกษตรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระยะที่ 2 (ปี พ.ศ. 2548 - 2553) 1. กรอบแนวทางดำเนินการและเป้าหมาย ในการดำเนินงานถ่ายโอนภารกิจของกรมส่งเสริมการเกษตรได้กำหนดเป้าหมายของการทำงานเป็น 2 ระยะ คือ 1.1 เป้าหมายเบื้องต้น สำนักงานเกษตรอำเภอทุกแห่งดำเนินการจัดให้มีการส่งมอบ / รับมอบภารกิจ กับ อปท. (แต่ละแห่ง) ทั้งหมดทุกภารกิจ 1.2 เป้าหมายที่แท้จริง ต้องการให้ อปท. สามารถนำภารกิจของกรมส่งเสริมการเกษตรที่ได้รับมอบไปแล้ว นำไปปฏิบัติให้บริการที่เกิดประโยขน์แก่ประชาชนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง ภายในปี 2553 ซึ่งการดำเนินงานในส่วนนี้จะเกิดได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับตัวของ อปท. แต่ละแห่งที่จะเห็นความ จำเป็นหรือจัดความสำคัญก่อนหลังที่จะดำเนินการ ทั้งนี้ หลังจากการถ่ายโอนภารกิจให้ อปท. มิได้หมายความว่าภารกิจเหล่านั้นเป็นหน้าที่ของ อปท. แต่ฝ่ายเดียว สำนักงานเกษตรอำเภอไม่ต้องเกี่ยวข้องอีกต่อไป แต่ที่แท้จริงแล้วต้องเป็นการทำงานร่วมกัน โดยส่วนราชการจะค่อยๆ ปรับเปลี่ยนบทบาทจากเป็นผู้ปฏิบัติในภารกิจนั้นๆ มามีบทบาทเป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ และสนับสนุนทางวิชาการแก่ท้องถิ่น ซึ่งจะส่งผลให้ อปท. มีความเข้มแข็งขึ้น สามารถนำภารกิจไปให้บริการ เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชนจนบรรลุตามเจตนารมณ์ของการกระจายอำนาจให้ อปท.ต่อไป 2. ขั้นตอน / วิธีปฏิบัติ 2.1 ขั้นตอนการส่งมอบ / รับมอบภารกิจ เนื่องจากที่ผ่านมาผู้เกี่ยวข้องหลายแห่งมีความเข้าใจคลาดเคลี่ยนว่า อปท. ต้องมีความพร้อมก่อนรับโอนภารกิจจากส่วนราชการส่งผลให้การส่งมอบ/รับมอบภารกิจไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จึงขอความร่วมมือสำนักงานเกษตรจังหวัด/อำเภอ ที่ยังไม่ได้รับมอบภารกิจ หรือส่งมอบยังไม่ครบทุกภารกิจ ให้เร่งรัดการส่งมอบภารกิจทุกภารกิจให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว เนื่องจากกฏหมายได้กำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ อปท. พร้อมก่อนจะรับแต่อย่างใด 2.1.1 แนวทางดำเนินการ : ในกรณีที่ยังไม่ได้ส่งมอบกภารกิจหรือส่งมอบไม่ครบทุกภารกิจ (1) ประสานงานกับสำนักงานท้องถิ่นอำเภอเพื่อประสานงานและปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อวางแผนสนับสนุนดำเนินงานถ่ายโอนภารกิจฯ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย (2) ตรวจสอบการดำเนินงานตามภารกิจที่ถ่ายโอนให้ท้องถิ่นทุกภารกิจว่า สำนักงานเกษตรอำเภอได้ปฏิบัติงานในภารกิจฯ แค่ไหน อย่างไร มีชิ้นงานหรือไม่ แผนงานดำเนินการเป็นอย่างไร เพื่อให้การส่งมอบ/รับมอบภารกิจมีหลักฐาน / เอกสารประกอบการส่งมอบอย่างเป็นรูปธรรม และเมื่อ อปท. รับภารกิจ ไปแล้ว สามารถดำเนินงานตามภารกิจนั้นๆ ได้อย่างต่อเนื่องไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ หรือขาดช่วงไป (3) จัดทำหนังสือแจ้งส่งมอบภารกิจให้ อปท. ทุกแห่งที่เกี่ยวข้องในเขตรับผิดชอบ โดยประสานงาน อปท. จัดให้มีการจดบันทึกส่งมอบ/รับมอบภารกิจระหว่างกันเป็นรายภารกิจ (4) กรมฯ มอบอำนาจให้อำเภอ (นายอำเภอ)เป็นผู้มีอำนาจลงนามแทนกรมฯ ในฐานะผู้ส่งมอบภารกิจ โดยเกษตรอำเภอเป็นพยาน(ในส่วนของ อปท. นายก อปท. เป็นผู้ลงนาม ปลัด อปท. เป็นพยาน) โดยให้ใช้บันทึกการส่งมอบรับมอบภารกิจที่เป็นคู่ฉบับเป็นหลักฐานสำคัญระหว่างกัน 2.1.2 แนวทางดำเนินการ : เมื่อมีการส่งมอบ/รับมอบภารกิจเรียบร้อยแล้ว (1) กรณีที่มีการรับมอบ/ส่งมอบภารกิจ อปท. ใดไปแล้วโดยใช้หนังสือตอบรับเป็นหลักฐาน หรือใช้บันทึกการส่งมอบ รับมอบภารกิจโดยเกษตรอำเภอเป็นผู้ลงนามในฐานะผู้มอบให้ถือว่าสามารถใช้เป็นหลักฐานได้โดยไม่ต้องทำขึ้นใหม่ (2) หลังจากการส่งมอบ/รับมอบภารกิจระหว่างกันแล้วให้อำเภอประสานงาน อปท. ได้บรรจุภารกิจที่ถ่ายโอนทุกเรื่องเข้าอยู่ในแผนพัฒนาท้องถิ่น เพื่อให้สามารถจัดทำเป็นข้อบัญญัติงบประมาณ แผนปฏิบัติการและอื่นๆ ตามความจำเป็นและความต้องการของท้องถิ่นขึ้นมารองรับการดำเนินงานที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในปีงบประมาณถัดไปได้ (3) วางแผนเตรียมการถ่ายโอนภารกิจฯ ภายในสำนักงานเกษตรอำเภอ โดยมีการซักซ้อมเจ้าหน้าที่ให้มีความเข้าใจ และวิธีปฏิบัติต่อ อปท. ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งมอบหมายให้มีเจ้าภาพในการประสานงานกับ อปท. แต่ละแห่งชัดเจน (4) จัดให้มีการปรึกษาหารือ ประชุมชี้แจง สร้างความเข้าใจระหว่างสำนักงานเกษตรอำเภอ กับ อปท. แต่ละแห่ง เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้เรียนรู้ในกระบวนการทำงานถ่ายโอนภารกิจร่วมกันในลักษณะ "รู้เขา รู้เรา" และบูรราการการทำงานร่วมกัน 2.2 ขั้นตอนการนำภารกิจที่ถ่ายโอนไปฏิบัติเพื่อให้บริการประชาชน (1) ภารกิจกรมส่งเสริมการเกษตรที่ถ่ายโอนให้ อปท. (9 ภารกิจ) มีรูปแบบการถ่ายโอนในลักษณะ "อปท. ดำเนินการร่วมกับรัฐ" โดย อปท. มีบทบาทเป็นผู้ปฏิบัติ และส่วนราชการมีบทบาทเป็่นที่ปรึกษาให้คำแนะนำสนับสนุนทางวิชาการแก่ท้องถิ่น และภารกิจดังกล่าว (9 ภารกิจ) เป็นกิจกรรมประเภท "เลือกทำโดยอิสระ" ถึงแม้ว่า อปท. มีอิสระในการที่จะเลือกทำตามจำเป็นและความต้องการของท้องถิ่นแต่ก็ถือว่าเป็นความรับผิดชอบของ อปท. ที่ยังไม่ต้องดำเนินการต่อไป (2) การผลักดันให้ภารกิจที่ถ่ายโอนแล้วไปสู่การปฏิบัติเกิดประโยชน์แก่ประชาชน สำนักงานเกษตรอำเภอ และ อปท. ต้องมีการประชุมหารือกันเพื่อกำหนดเป็นแผนการดำเนินงานร่วมกันตามศักยภาพที่มีอยู่ของแต่ละฝ่าย โดยจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการประจำปีร่วมกัน ทั้งนี้ ไม่จำเป็นต้องมีความพร้อมกันทุกภารกิจ แต่ควรเริ่มจากภารกิจใดภารกิจหนึ่งที่ทั้งสองฝ่ายมีความพร้อมนำไปปฏิบัติได้มากที่สุดในลักษณะนำร่อง แล้วค่อยขยายไปสู่ภารกิจที่เหลือ และทยอยนำไปสู่การปฏิบัติจนครบทุกภารกิจ ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรยังคงทำหน้าที่โดยเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาการดำเนินงานตามภารกิจแก่ อปท. 2.2.1 แนวทางปฏิบัติระดับจังหวัด (1) สำนักงานเกษตรจังหวัดร่วมกับสำนักงานท้องถื่นจังหวัด จัดประชุมเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอทั้งสองหน่วยงานเพื่อวิเคราะห์สภาพการณ์ ปัญหา/อุปสรรค การถ่ายโอนภารกิจ และวางแผน/แก้ไขปัญหา/ปรับปรุง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเจตนารมณ์ของการกระจายอำนาจให้ อปท. (2) ติดตาม สนับสนุนการดำเนินงานแก่อำเภอ 2.2.2 แนวทางปฏิบัติระดับอำเภอ (1) สำนักงานเกษตรอำเภอ ร่วมกับสำนักงานท้องถิ่น อำเภอ จัดประชุมเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องการถ่ายโอนภารกิจ ประกอบด้วย - นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ผู้ทำหน้าที่เป็นเลขาศูนย์บริการฯ - ประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการ - นายกเทศบาล / อบต. - ปลัดเทศบาล / อบต. วัตถุประสงค์ของการประชุมดังกล่าว เพื่อ (1) ชี้แจงและทบทวนบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานที่จะดำเนินการตามภารกิจที่ถ่ายโอนให้ชัดเจน โดยแบ่งงานตามบทบาท / หน้าที่ที่ต้องปฏิบัติให้ชัดเจนตามหลักการ - เทศบาท/อบต. เป็นผู้ปฏิบัติ (ดำเนินการ) สนับสนุนปัจจัยและค่าใช้จ่าย - ส่วนราชการสนับสนุนทางวิชาการ ให้คำปรึกษาแนะนำ (2) กำหนดตัวบุคคลแต่ละฝ่ายเป็นผู้ทำหน้าที่ปฏิบัติงาน/ประสานงานในภารกิจถ่ายโอนให้ชัดเจน (3) ใช้ภารกิจศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรปรจำตำบล เป็นกลยุทธ์หลักในการถ่ายโอนภารกิจ เพื่อนำร่องเป็นภารกิจแรกที่อำเภอกับ อปท. ทำงานร่วมกัน และเกิดการขับเคลื่อนภารกิจอื่นๆ ตามมาในภายหลัง ตามความจำเป็นและศักยภาพของพื้นที่ที่นำไปสู่การปฏิบัติได้จริง โดยแบ่งภารกิจดังกล่าวออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ ก. ภารกิจที่ใช้เป็นตัวตั้งในการรับโอนภารกิจฯ ซึ่งต้องดำเนินการให้ครบทุก อปท. - ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล (มี 4 ภารกิจย่อย) ข. ภารกิจที่มีเนื้องานเกี่ยวข้องกับศูนย์บริการฯ ซึ่งควรดำเนินการให้ครบทุก อปท. - การจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรฯ - การสำรวจข้อมูลฯ - การรวมกลุ่มและพัฒนากลุ่ม - การบริการข้อมูล และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ค. ภารกิจอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นต้องมีครบทุก อปท. - การรวบรวมส่งเสริมพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น - การสำรวจช่วยเหลือป้องกันกำจัดศัตรูพืช - การกระจายพันธุ์ (4) กำหนดเป้าหมาย/แผนการดำเนินการร่วมกันโดยกำหนด อปท. ที่นำภารกิจถ่ายโอนไปดำเนินการในแต่ละปีให้ชัดเจนตามความพร้อมของแต่ละแห่ง ทั้งนี้ อาจเริ่มจากเทศบาลตำบล อบต.ขนาดใหญ๋ อบต.ขนาดกลาง อบต.ขนาดเล็ก ตามลำดับ (5) สำนักงานเกษตรอำเภอ กับ อปท. จัดทำแผนปฏิบัติงานร่วมกันในแต่ละกิจกรรมของแต่ละภารกิจ (6) กำหนดบทบาทหน้าที่ในแผนปฏิบัติที่ดำเนินการร่วมกันอย่างชัดเจน (จัดทำคู่มือ/รายละเอียด/ขั้นตอนการปฏิบัติ) (7) สำนักงานเกษตรอำเภอมอบหมายนักวิชาการประสานงานกับ อปท. หรือ อบต. ทุกท่านเพื่อเป็นพี่เลี้ยง ให้คำแนะนำ และปฏิบัติงานในบทบาทหน้าที่ (8) สำนักงานเกษตรอำเภอร่วมกับท้องถิ่น อำเภอ และ อปท. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของภารกิจที่ถ่ายโอน เสนอจังหวัด กรม เพื่อรายงานสำนักงานรัฐมนตรี ตามแบบรายงานทุก 6 เดือน (9) สำนักงานเกษตรอำเภอ และ อปท. ร่วมแก้ไขปัญหาขัดข้องในการดำเนินงานที่ถ่ายโอนภารกิจ (10) สำนักงานเกษตรอำเภอร่วมกับ อปท. จัดทำประกาศให้ประชาชนในแต่ละท้องถิ่นทราบถึงการเปลี่ยนแปลงผู้ให้บริการ (ตามภารกิจที่ถ่ายโอน) และแผนการเปิดให้บริการ เพื่อประชาชนได้ทราบและสามารถติดต่อขอใช้บริการต่างๆ ได้ถูกต้องและเป็นไปตามแผนการดำเนินงานที่ทั้งสองฝ่ายได้กำหนดไว้ 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงานถ่ายโอนภารกิจฯ ในการดำเนินงานถ่ายโอนภารกิจฯ สำนักงานเกษตรอำเภอและ อปท. สามารถประเมินความก้าวหน้า / ความสำเร็จในเบื้องต้นได้ด้วยตนเองจากตัวชี้วัด ดังต่อไปนี้ 3.1 เป้าหมายเบื้องต้น (1) เป้าประสงค์ : ต้องการให้เกิดการส่งมอบ / รับมอบภารกิจ ระหว่างสำนักงานเกษตรอำเภอกับ อปท. (2) ตัวชี้วัด : มีหลักฐานการส่งมอบ / รับมอบภารกิจที่เป็นลายลักษณ์อักษร 3.2 เป้าหมายที่แท้จริง (1) เป้าประสงค์ : อปท. สามารถนำภารกิจที่ได้รับมอบจากสำนักงานเกษตรอำเภอไปปฏิบัติให้บริการประชาชนได้จริง (2) ตัวชี้วัด : - อปท. มีผู้รับผิดชอบ (ภารกิจถ่ายโอน) โดยตรง - อปท. มีแผนการดำเนินงานภารกิจถ่ายโอน - อปท. จัดตั้งงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานภารกิจถ่ายโอน - สำนักงานเกษตรอำเภอมีผู้ประสานงานเพื่อสนับสนุนภารกิจถ่ายโอนเป็นราย อปท.

    เอกสารประกอบ

การถ่ายโอนภารกิจของกรมส่งเสริมฯ ให้อปท.
 
    วันที่ลงข่าว
: 3 ต.ค. 2558
    ผู้ลงข่าว : ผู้ดูแลระบบ