องค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา : www.thajalung.go.th

 
 
ข่าวประชาสัมพันธ์


รายงานการเข้าร่วมฝึกอบรมปฏิบัติการโครงการอนุรักษ์พ

    รายละเอียดข่าว

บันทึกข้อความ
ส่วนราชการ     ส่วนส่งเสริมการเกษตร   องค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง
ที่   นม  90205/                                              วันที่   7   มีนาคม  2559
เรื่อง    รายงานผลการเข้าร่วมฝึกอบรม  ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ                              
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ)
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
เรียน    นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง
                   เรื่องเดิม
                   ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง  อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ได้สมัครเข้าร่วมสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ตามหนังสือองค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง ที่ นม 90205/298 ลงวันที่ 19 มีนาคม 2558  และจังหวัดนครราชสีมา ได้แจ้งรายชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับคัดเลือกเข้ารับการฝึกอบรมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  รุ่นที่ 2  ระหว่างวันที่ 1 - 4 มีนาคม 2559 รุ่นละ 4 วัน  แห่งละ 2-4 คน (มาจากฝ่ายบริหารและผู้ปฏิบัติ) ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง ได้ส่งแบบตอบรับยืนยันการเข้าฝึกอบรมและอนุญาตให้พนักงานส่วนตำบลจำนวน  4  ราย เดินทางไปราชการตามโครงการฯ ดังกล่าวข้างต้น ในรุ่นที่ 2 วันที่ 1-4 มีนาคม 2559 ณ ศูนย์ฝึกอบรมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ ฯ ลำตะคอง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา โดยมีค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม เป็นค่าลงทะเบียน 2,000 บาท/คน (ค่าเอกสาร  ค่าอาหาร ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม และค่าที่พัก)  มีรายชื่อผู้เข้าอบรมดังนี้
1.นายราเชนทร์  ประกอบกิจ      ตำแหน่ง  ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง
2.นางกนกอร     ฝ่ายโคกสูง        ตำแหน่ง   ผู้อำนวยการกองคลัง
3.นายสถาพร    สินเธาว์           ตำแหน่ง  หัวหน้าสำนักปลัด
4.นางอำไพ       สังเกตุ            ตำแหน่ง   หัวหน้าส่วนการเกษตร
                   ข้อเท็จจริง                                                                                                                                                                              
                   ส่วนส่งเสริมการเกษตร  องค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ได้อนุญาตให้พนักงานส่วนตำบล จำนวน 1 ราย คือ นางอำไพ  สังเกตุ ตำแหน่ง หัวหน้าส่วนการเกษตร เข้าร่วมฝึกอบรมและเดินทางไปราชการตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ในรุ่นที่ 2 วันที่ 1-4 มีนาคม 2559 ณ   ศูนย์ฝึกอบรมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฯ ลำตะคอง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งการฝึกอบรมดังกล่าวได้เสร็จสิ้นแล้ว จึงขอรายงานผลการเข้าร่วมฝึกอบรม ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ) ตามกำหนดการฝึกอบรมปฏิบัติการสำรวจและจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 8/2559 ระหว่างวันที่  29 กุมภาพันธ์ – 4 มีนาคม 2559  ณ  ศูนย์ฝึกอบรมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฯ ลำตะคอง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา  รายละเอียดปรากฏตามกำหนดการอบรมที่แนบมาดังนี้
 
-2-
                    วันอังคารที่  1  มีนาคม  2559
                    -เรื่อง แนวทางการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นตามแนวทางของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (อพ.สธ)
-เรื่อง แนวทางการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น  6  งาน
-เรื่อง การเขียนแผนการบริหารจัดการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น
-เรื่อง การเก็บข้อมูลฐานทรัพยากรท้องถิ่น ใบงานที่ 1 – 3
ใบงานที่ 1 การเก็บข้อมูลพื้นฐานในท้องถิ่น
ใบงานที่ 2 การเก็บข้อมูลการประกอบอาชีพในท้องถิ่น
ใบงานที่ 3 การเก็บข้อมูลด้านกายภาพในท้องถิ่น
-สรุปและนำเสนอผลการปฏิบัติการใบงานที่ 1 – 3
ความรู้ ทักษะที่ได้รับจากการฟังบรรยายประจำวัน
1.ได้รับความรู้เกี่ยวกับประวัติของโครงการและแนวทางดำเนินงานของโครงการอนุรักษ์
พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี  ซึ่งทรงมีพระราชดำริและทรงสืบต่องานด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช  มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาบุคลากร  การสร้างคน พัฒนาคน เพื่อให้เกิดการพัฒนาตนเอง  เกิดการอนุรักษ์พัฒนาทรัพยากรพันธุกรรมพืชให้เกิดประโยชน์ถึงมหาชนชาวไทย  
มีวัตถุประสงค์
1) ให้เข้าใจและเห็นความสำคัญของพันธุกรรมพืช   
2) ให้ร่วมคิด  ร่วมปฏิบัติ  จนเกิดประโยชน์ถึงมหาชนชาวไทย
3) ให้มีระบบข้อมูลพันธุกรรมพืช สื่อถึงกันได้ทั่วประเทศ
                    2.ได้รับความรู้การใช้ประโยชน์จากพืช  ซึ่งเป็นปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิตประจำวัน
                    3.ได้รับความรู้ชนิด พันธุ์  และการใช้ประโยชน์จากพืช  สัตว์  และชีวภาพ
                    4.ได้รับความรู้การสร้างจิตสำนึกในชุมชน  โรงเรียน และประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช  ซึ่งโรงเรียน สามารถนำความรู้ไปใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน  และเด็กเป็นกำลังสำคัญในการทำงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น
                    5.แนวทางการดำเนินงานฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น โดยมี 6 งานที่สำคัญ ได้แก่
5.1 งานปกปักทรัพยากรท้องถิ่น  มี 6 งานย่อย
5.2 งานสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรท้องถิ่น มี 10 งานย่อย
5.3 งานปลูกรักษาทรัพยากรท้องถิ่น มี 3 งานย่อย
5.4 งานอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่น
5.5 งานศูนย์ข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น
5.6 งานสนับสนุนในการอนุรักษ์และจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น
                    6.จากการเก็บข้อมูลใบงานที่ 1 – 3  ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการ  การตั้งคำถาม ทราบข้อมูลพื้นฐานของแต่ละแห่ง สภาพภูมิประเทศ ลักษณะดิน แหล่งน้ำ  การวัดปริมาตรของข้อมูลด้านกายภาพ
วันพุธที่  2  มีนาคม  2559
                    -เรื่อง การเก็บข้อมูลฐานทรัพยากรท้องถิ่นและออกปฏิบัติการในแต่ละฐาน พร้อมสรุปและนำเสนอผลการปฏิบัติการ ตามใบงานที่ 4,8 และ 9
 
-3-
ใบงานที่ 4 การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน  ชุมชน วิถีชุมชน  ทำการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูล
คือ นายผจญ  คงแก้ว  ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1 ตำบลคลองไผ่  อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
ใบงานที่ 8 การเก็บข้อมูลภูมิปัญญาในท้องถิ่น เรื่อง กระบวนการผลิตชาใบหม่อน และการ
ย้อมสีผ้าด้วยวัสดุธรรมชาติ
ใบงานที่ 9 การเก็บข้อมูลแหล่งทรัพยากรและโบราณคดีในท้องถิ่น  เก็บข้อมูลแหล่ง
ทรัพยากรและโบราณคดี  ณ  วัดพระพุทธบาทคีรีวันน์เขาพริก ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว  จังหวัดนครราชสีมา  
ความรู้ ทักษะที่ได้รับจากการฟังบรรยายประจำวัน
                    1.ได้ทราบแนวทางการบันทึกข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชนและวิถีชีวิต  ต้องทำการบันทึกข้อมูลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  เพื่อให้ทราบการตั้งถิ่นฐาน  ประวัติความเป็นมาของคน  สถานที่นั้น หากเราต้องการจะทราบเรื่องอะไร ควรตั้งคำถาม เพื่อให้ผู้ตอบเล่าอย่างละเอียด หรือเป็นประเด็นคำถาม  แยกการเก็บข้อมูลเป็นด้านหรือเรื่อง  หากข้อมูลที่ได้รับยังไม่ครบ ควรค้นหาเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลอื่น เช่น คอมพิวเตอร์  หนังสือที่มีอยู่แล้ว ประวัติศาสตร์ต่างๆ  แล้วเรียบเรียงเขียนสรุปให้สมบูรณ์ที่สุด สามารถนำข้อมูลนั้นมาสู่การพัฒนาท้องถิ่นต่อไป
2.การเก็บข้อมูลแหล่งทรัพยากรและโบราณคดีในท้องถิ่น  ออกปฏิบัติการเก็บข้อมูลแหล่ง
ทรัพยากรและโบราณคดีในท้องถิ่น ณ วัดพระพุทธบาทคีรีวันน์เขาพริก ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว  จังหวัดนครราชสีมา ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับแหล่งประวัติที่สำคัญในท้องถิ่นที่ควรอนุรักษ์โบราณสถาน เก็บข้อมูลและนำมาถ่ายทอดข้อมูลสืบทอดไปยังลูกหลาน    
3.การเก็บข้อมูลภูมิปัญญาในท้องถิ่น ได้ทราบถึงภูมิปัญญาของคนไทย เกี่ยวกับการแปรรูป
พืชสมุนไพร เช่น ใบหม่อน  ผักเชียงดา  มะกอกโอลิฟ  มะตูม มีการแปรรูปเป็นเครื่องดื่มและน้ำสมุนไพร เช่น  ชาใบหม่อน  มีภูมิปัญญาโดยการหั่นใบหม่อมเป็นเส้นเล็ก ๆ แล้วนำไปคั่วไฟในหม้อดินจนแห้ง จะทำให้มีกลิ่นหอมนาน รสชาติอร่อย  และกระบวนการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติสำหรับผ้าไหม  เพื่อให้การย้อมสีในผ้ามีสีคงทน สวยงาม  การจัดกลุ่มของสีธรรมชาติชนิดต่างๆ แยกเป็นโทนสี ดังนี้
โทนสีแดง ได้จากครั่ง รากยอป่า  มะไฟ  แก่น  เมล็ดคำแสด  แก่นฝาง  เปลือกสมอ  ไม้
เหมือด  เปลือกสะเดา  ดอกมะลิวัลย์  แก่นประดู่ 
โทนสีเหลือง  ได้จาก  ดอกดาวเรือง หัวขมิ้นชัน  ขมิ้นอ้อย  แก่นไม้พุด  ดอกกรรณิการ์  ใบ
มะขาม ผลดิบมะตูม  เปลือกมะขามป้อม  เปลือกผลมังคุด  ดอกผกากรอง  ต้นใบขี้เหล็ก  แก่นขนุน 
โทนสีน้ำตาล  ได้จาก  เปลือกไม้โกงกาง  เปลือกสีเสียด  เปลือกพยอม  เปลือกผลทับทิม 
เปลือกนนทรี  เปลือกฝาดแดง  เปลือกมะหาด  แก่นคูณ
โทนสีน้ำเงิน  ได้จาก  ใบบวบ  ใบหูกวาง  เปลือกเพกา  เปลือกต้นมะริด  เปลือกสมอ 
ใบตะขบ
โทนสีดำ  ได้จาก  ผลมะเกลือ  ใบกระเม็ง  ผลมะกอกเลื่อม  เปลือกมะเขือเทศ
วันพฤหัสบดีที่  3  มีนาคม  2559
-เรื่อง การเก็บข้อมูลฐานทรัพยากรท้องถิ่นและออกปฏิบัติการในแต่ละฐาน พร้อมสรุปและ
นำเสนอผลการปฏิบัติการ ตามใบงานที่ 5,6 และ 7  
ใบงานที่ 5 การเก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์ของพืชในท้องถิ่น  โดยออกปฏิบัติการเก็บข้อมูล
-4-
ประโยชน์ของพืช  2 ชนิด ได้แก่  หม่อนกินผลและผักเชียงดา
                    หม่อน  เป็นไม้ต้น สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนของต้น อาทิ เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งในศูนย์ฝึกอบรมฯ เน้นกินผลและใช้เลี้ยงไหม และทำชา
ใบงานที่ 6 การเก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์ของสัตว์ในท้องถิ่น
ใบงานที่ 7 การเก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์ของชีวภาพอื่น ๆ ในท้องถิ่น
ความรู้ ทักษะที่ได้รับจากการฟังบรรยายประจำวัน
                    1.ได้รับความรู้จากการใช้ประโยชน์ของพืช  สัตว์และชีวภาพอื่น ๆ ซึ่งสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป มีรายละเอียดดังนี้
                    ประโยชน์จากพืช  จำนวน 5 ชนิด ได้แก่
                    1.หม่อนกินผล (Mulberry) มัลเบอร์รี่ ที่เรารู้จักกัน ปลูกไว้เพื่อรับประทานผลเพียงอย่างเดียว ซึ่งมีชื่อสามัญว่า Black Mulberry และมีชื่อวิทยาศาสตร์ Morus nigra L. จัดอยู่ในวงศ์ MORACEAE ผลสุกจะเป็นสีดำมีรสเปรี้ยวอมหวาน นิยมนำมารับประทานและนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
                    ลักษณะนิสัย หม่อนสามารถให้ผลผลิต 4  ครั้งต่อปี  โดยใช้เทคนิคการตัดแต่งกิ่ง
ใบ  ใช้เป็นเครื่องเทศปรุงอาหาร  และใช้ต้มดื่มเป็นชาหม่อน ดื่มแก้กระหาย เพื่อลดความดัน
โลหิตสูง แก้ ประจำเดือนไม่ปกติ 
ต้น ใช้ทำดอกไม้จันทน์  ใช้เป็นยารักษาโรคในสัตว์  ใช้เป็นถ่าน  ทำเฟอร์นิเจอร์ และของ
ชำร่วยผล  ใช้เป็นอาหารสัตว์สำหรับไก่  และรับประทานผล ซึ่งจะมีรสเปรี้ยวหวานเย็น มีสรรพคุณช่วยดับร้อน คายความร้อนรุ่ม ช่วยขับลมร้อน ช่วยบรรเทาอากากระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ และทำให้ร่างกายชุ่มชื่น        ผลนำมาต้มกับน้ำหรือเชื่อมกินเป็นยาแก้ธาตุ ไม่ปกติ ผลมีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ ผลหม่อนมีสรรพคุณช่วยทำให้เส้นประสาทตาดี ทำให้สายตาแจ่มใส หูตาสว่าง ร่างกายสุขสบาย ผลมีสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องผูก และยังมีเมล็ดที่ช่วยเพิ่มใยอาหาร  ผลนำมาต้มกับน้ำหรือเชื่อมกินเป็นยาระบายอ่อน ๆ ผลหม่อนมีฤทธิ์เป็น ยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อตับและไต มีสรรพคุณช่วยบำรุงตับและไต ช่วยรักษาตับและไตพร่องช่วยแก้ข้อมูลข้อเท้าเกร็ง แก้ไขข้อ โรคปวดข้อ  ช่วยบำรุงเส้นผมให้ดกดำ ป้องกันผมหงอกก่อนวัย
2. หม่อนกินใบ 
การผลิตชาหม่อนมี 2 พันธุ์ ได้แก่ ใบหม่อนสด พันธุ์ บร. 60 หรือนครราชสีมา  60 ซึ่งเป็น
วัตถุดิบในการผลิตชา
คุณสมบัติของใบหม่อนที่ใช้ทำชา
-พันธุ์ที่ใช้ คือ พันธุ์บุรีรัมย์ 60 หรือพันธุ์นครราชสีมา 60 ซึ่งทั้งสองพันธุ์เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิต
สูง  ใบขนาดใหญ่ หนา ไม่เหี่ยวง่าย เหมาะสมกับการผลิตเป็นชา  ใบหม่อนจะต้องมีความสด ไม่ใช้ใบที่เหี่ยว หรือตายนึ่ง ในการผลิตชาหม่อนนั้น ใบสด จะทำให้ได้ใบชาที่มีสีเขียว และมีคุณภาพดี  จะต้องเป็นใบที่ได้จากแปลงที่ไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และไม่ควรอยู่ใกล้กับแปลงพืชชนิดอื่นที่ใช้สารเคมี
-การใส่ปุ๋ย ที่ศูนย์ฝึกอบรม ฯ จะใช้ปุ๋ยโบกาฉิ 
-การเก็บเกี่ยวใบหม่อน วิธีที่เหมาะสม คือ การเก็บเกี่ยวโดยการเก็บใบให้เหลือ 2-3 ใบต่อกิ่ง 
45 วันจะเก็บได้ต่อ 1 ครั้ง
 3.ผักเชียงดา  ชื่อภาษาอังกฤษ : Gymnema sylvestre
ชื่ออื่น : ผักจินดา ผักเชียงดา (เหนือ)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้เลื้อยชนิดหนึ่งที่ปลูกตามท้องถิ่นทางภาคเหนือปลูกมากในจังหวัด
เชียงราย และเชียงใหม่ เถาสีเขียว ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาวเหมือนน้ำนม  ใบเดี่ยว รูปกลมรี ท้องใบเขียวแก่กว่าหลังใบ ใบออกตรงข้อเป็นคู่ๆ ดอกออก เป็นกระจุกแน่นสีขาวอมเขียว ดอกย่อยขนาดเล็ก ผลเป็นฝักคู่  โดยปลูกเป็นพืชผักสวนครัว เพราะดอกและยอดอ่อนสามารถทำเป็นอาหารได้ หากลองเด็ดใบแก่มาเคี้ยวกินแล้วกินน้ำตาลทรายจะรู้สึกว่าน้ำตาลไม่มีรสหวาน และรสของมันจะติดลิ้นค่อนข้างนาน ทำให้คนที่เคี้ยวไม่อยากทานอาหารแต่ถ้าเอามาผัดหรือเอา มาแกงรวมกับผักอื่น ๆ โดยคุณสมบัติของผักเชียงดาจะทำให้รสชาติของผักอื่น ๆ อร่อยขึ้น
เมล็ดของผักเชียงดา มีปีกเหมือนต้นโมก 
 4.รางจืด 
                    "รางจืด" เป็นไม้เลื้อย สามารถพบได้ทั่วไป เนื่องจากเป็นพืชที่เกิดและโตเองตามธรรมชาติ
ลักษณะเป็นไม้เลื้อย  ไม่มีแก่นไม้  ใบเรียวยาว ขนาดใบยาว 4-7 ซม. กว้าง 8-15 ซม. ขอบใบเรียบหรือมีหยักเล็กน้อย สีเขียวเข้ม มีดอกสีน้ำเงินแกมม่วงอ่อนๆ
                    มีสรรพคุณโดดเด่นในเรื่องการล้างพิษ แก้เบื่อ แก้อาการเมาค้าง ลดไข้ แก้กระหายน้ำ
ส่วนที่ใช้ทำยา  ได้แก่  ใบ, ดอก, ราก, เถา (ลำต้น)
                    "ใบ ใช้ใบโตเต็มที่ อายุประมาณ 1 ปี ใช้ 5-7 ใบ นำไปต้มในน้ำเดือด น้ำที่ได้จากการต้มรางจืดสามารถใช้ทำยาดื่มล้างพิษได้  ใบอ่อน ใช้ประกอบอาหารโดยการยำใส่กุ้ง หมู
 5. ผักหวานป่า
ผักหวานป่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมตร ชอบสภาพป่าดิบแล้ง
เทคนิคการปลูกผักหวานป่าในศูนย์ฝึกอบรม ฯ
                   1.อย่าปลูกผักหวานป่าใกล้โคนต้นไม้เกินไป
                   2.ควรปลูกเสริมในแปลงปลูกยางพารา โดยใช้ระยะปลูก 4 * 6 เมตร
                   3.ถ้าหากปลูกในแปลงใหม่ ต้องมีตะกร้าปิดบังแสงแดด  ภายในระยะเวลา 1-2 ปี จะต้องมีไม้พี่เลี้ยง
การเพาะต้นผักหวานด้วยเมล็ด  คัดเฉพาะผลผักหวานป่าที่สุกงอมเต็มที่ นำมาขยี้เปลือกออก
ด้วยทราย และนำไปเพาะทันทีหรือนำไปบ่มก่อนก็ได้  โดยวิธีการบ่มเหมือนกับการบ่มข้าวก่อนจะนำไปหว่าน
ในช่วงเดือนแรกผักหวานป่าจะมีการพัฒนาของระบบรากอย่างรวดเร็ว หากนำผักหวานที่เพาะงอกแล้ว ไปปลูกในแปลง เวลาถอดถุงพลาสติกเพื่อนำกล้าลงปลูกในหลุม ต้องระวังอย่าให้กระเปาะดินแตกหักหรือรากขาด เพราะจะทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโตเป็นเวลานาน
คุณค่าทางโภชนาการของผักหวานป่า ผักหวานป่าจัดเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงชนิด
หนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านแหล่งโปรตีน วิตามินซี และพลังงาน นอกจากนี้ยังมีปริมาณเยื่อใยพอสมควร ช่วยในการขับถ่ายให้ดีขึ้น  การนำผักหวานป่ามาปรุงอาหารนั้นใช้ได้ทั้งส่วนที่เป็นยอดและใบอ่อน นำช่อผลอ่อน ๆ สำหรับผลแก่อาจลอกเนื้อทิ้งนำเมล็ดไปต้มรับประทานได้เช่นเดียวกับเมล็ดขนุน มีรสหวานมัน การปรุงอาหารจากผักหวานป่า นอกจากต้ม ลวก เป็นผักจิ้มน้ำพริกแล้ว อาจนำไปทำแกง แกงเลียง หรือต้มจืดได้ เช่นกัน 
-ประโยชน์จากสัตว์  ได้แก่ ไส้เดือนดิน
                   ไส้เดือนดิน ชนิดที่ใช้ในโครงการนี้หรือที่เรียกว่าขี้ตะแร่  เป็นประเภทไส้เดือนตัวเล็ก ๆ ขยัน ชอบอาศัยอยู่ในน้ำลื่น ๆ หรือน้ำฝนผสมมูลวัว  มันต้องการน้ำเพื่อเลี้ยงตัวให้มีความชุ่มชื้น การกินมูลวัว เสมือนเป็นเนื้อ 
-การเลี้ยงไส้เดือน จะได้รับขี้ไส้เดือน มีธาตุอาหารที่เหมาะกับพืช ได้แก่ ธาตุไนโตรเจน (N )
ฟอสฟอรัส (P) และโปแตสเซียม (K)  นำไส้เดือนมากำจัดขยะ จำพวกเศษอาหาร มูลสัตว์และใช้ตกปลา และนำไปใส่กล้วยไม้ เป็นปุ๋ยเพิ่มธาตุอาหารให้แก่กล้วยไม้  หากดินบริเวณใดพบไส้เดือนดิน มักจะตั้งข้อสังเกตว่าดินนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ เพราะไส้เดือนดินเป็นเครื่องพรวนดินให้ร่วนซุยตามธรรมชาติได้เป็นอย่างดี  พฤติกรรมของมันยังเป็นประโยชน์ต่อเราและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
                   -ประโยชน์จากชีวภาพอื่น ๆ  ได้แก่  เทา  ไข่ผำ แหนแดง  
ในศูนย์ฝึกอบรมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ลำตะคอง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา จะมีการเพาะเลี้ยงเทา  ไข่ผำ และแหนแดง โดยใต้ใบของแหนแดงจะมีสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สามารถตรึงไนโตรเจนให้แก่ข้าว และในป่าดิบแล้ง จะมีเห็ดโคน จะพบมากในช่วงเดือนสิงหาคม –กันยายน
                   การใช้ประโยชน์จากเทา และไข่ผำ สามารถนำมาประกอบอาหาร และแหนแดง ใต้ใบจะมีสาหร่ายสีเขียวแก้มน้ำเงิน สามารถเพิ่มธาตุอาหารไนโตรเจนในนาข้าวได้เป็นอย่างดี  มักจะพบเทาบริเวณลำห้อย ที่จังหวัดแพร่ พบเป็นกลุ่ม ๆ ปริมาณมาก
วันศุกร์ที่  4 มีนาคม  2559
-เรื่อง การจัดการฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น
-ปฏิบัติการ : จัดทำทะเบียนพรรณไม้ในท้องถิ่น ทะเบียนภูมิปัญญาในท้องถิ่น , จัดทำ
ทะเบียนสัตว์ในท้องถิ่น ทะเบียนชีวภาพอื่น ๆ ในท้องถิ่น
-ปฏิบัติการ : รวบรวมข้อมูล 9 ใบงาน บันทึกสู่ฐานข้อมูลฐานทรัพยากรท้องถิ่น
-การนำฐานข้อมูลไปใช้ประโยชน์ การติดตามและประเมินผล
-สรุปการฝึกอบรมปฏิบัติการสำรวจและจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น
ความรู้ ทักษะที่ได้รับจากการฟังบรรยายประจำวัน
                    -ได้รับความรู้เรื่องการจัดเก็บฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนทรัพยากรท้องถิ่น ความสำคัญของข้อมูลต่อการพัฒนาท้องถิ่น
                   -ได้รับความรู้เรื่องทะเบียนฐานทรัพยากรท้องถิ่น มี 4 เรื่องสำคัญที่ต้องสำรวจและจัดเก็บดังนี้
                   1.ทะเบียนพรรณไม้ในชุมชน                  2.ทะเบียนพันธุ์สัตว์ในชุมชน
                   3.ทะเบียนชีวภาพอื่น ๆ ในชุมชน             4.ทะเบียนภูมิปัญญาท้องถิ่น
 
 สรุปรายงานผลการเข้าร่วมฝึกอบรม
รุ่นที่ 2 /2559 ระยะเวลาตามหลักสูตรของศูนย์ฝึกอบรม ฯ ตั้งแต่วันที่  29 กุมภาพันธ์ – 4  มีนาคม  2559
1.ความรู้ที่คาดว่าจะได้รับจากการฝึกอบรมตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
          -ได้รับทราบแนวทางการจัดเก็บข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น และการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในท้องถิ่น
          -ได้รับข้อเสนอแนะ แนวทางการปฏิบัติในระดับพื้นที่
          -ได้ทราบถึงชนิดพันธุ์พืช ชนิดชีวภาพ  วิธีการจัดเก็บข้อมูลและรวบรวมพันธุ์พืช การกำหนดเขตพื้นที่ที่จะสำรวจ
2.แนวทางในการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาของตนเอง /องค์กร
1.การนำความรู้/ประสบการณ์  ทักษะหรืออื่น ๆที่ได้รับในการฝึกอบรม ฯ เพื่อพัฒนางานของหน่วยงาน ดังนี้
                   -นำความรู้ด้านการเกษตร มาพัฒนาต่อยอดในการส่งเสริมการปลูกพืชในท้องถิ่น และการนำพืชในท้องถิ่นไปใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย อาทิเช่น การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การนำมาใช้ประโยชน์ในเรื่อง ปัจจัย 4 ในชีวิตประจำวัน หรือต่อยอดไปสู่การผลิตเชิงการค้า ต่อไป
                   -นำความรู้มาส่งเสริมการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และชีวภาพต่างๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งมีความหลากหลายทางพันธุกรรม มีความหลากหลายทางชีวภาพ ให้แก่เกษตรกร เยาวชนและบุคคลที่สนใจ
                   -สามารถนำระบบข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น เช่น ข้อมูลกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ สังคม ศักยภาพชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหารท้องถิ่น นำไปพัฒนาและต่อยอด เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ทำให้เป็นมาตรฐานสากล ต่อไป
                   -สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  เชิงเกษตรในท้องถิ่น สามารถสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน และส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น
          2.เอกสารที่ได้รับจากการไปราชการ / การอบรมสัมมนา / การศึกษาดูงาน
-ใบประกาศนียบัตร  เอกสารประกอบการอบรม  แผ่นบันทึกข้อมูล จำนวน 1 ชุด
3.การเผยแพร่ความรู้/ประสบการณ์/ทักษะและอื่น ๆ แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ
                   1.บุคลากรภายในองค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง  เป็นการพัฒนาคนภายในองค์กร ให้เกิดจิตสำนึกการอนุรักษ์พัฒนาทรัพยากรพันธุกรรมพืชให้เกิดประโยชน์ เผยแพร่และกระจายไปทั่วประเทศไทย ในอนาคตทุกท้องถิ่นจะมีระบบข้อมูลเชื่อมถึงกัน
                   2.เด็กนักเรียน คณะครูจากโรงเรียนในพื้นที่ ได้แก่ โรงเรียนบ้านหนองกก และโรงเรียนบ้าน
ขี้ตุ่น  
                   3.ประชาชนในตำบลท่าจะหลุง เพื่อสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
 
3. ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ
          1.ได้เข้าร่วมสนองพระราชดำริ  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
          2.ได้ทราบแนวทางการปฏิบัติและดำเนินงานปกปักทรัพยากรท้องถิ่น  สำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรท้องถิ่น ปลูกรักษาทรัพยากรท้องถิ่น อนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่น ศูนย์ข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น และสนับสนุนในการอนุรักษ์และจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น (นอกจากพันธุกรรมพืชแล้ว) ทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ  ทรัพยากรทาง วัฒนธรรมภูมิปัญญา รวมในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
 
 
 
-8-
          3.ได้จัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น ซึ่งมีทั้งทรัพยากรกายภาพ  ทรัพยากรชีวภาพ  ทรัพยากรทางวัฒนธรรมภูมิตำบลท่าจะหลุง
          4.จัดตั้งศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรท้องถิ่นตำบลท่าจะหลุง
4. ข้อเสนอแนะ
          เพื่อให้การดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น อพ.สธ. ตำบลท่าจะหลุง เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นและสนองพระราชดำริการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ทรัพยากรท้องถิ่น ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
เห็นควรดำเนินการ ดังนี้
          1.จัดตั้งงบประมาณ เพื่อดำเนินงานตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
          2.เห็นควรอนุมัติและแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น อพ.สธ.ตำบล
ท่าจะหลุง
          3.แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น อพ.สธ.ตำบลท่าจะหลุง
          4.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานตามกิจกรรมต่าง ๆ เช่น คณะอนุกรรมการศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรท้องถิ่น ตำบลท่าจะหลุง  ประกอบด้วย
4.1.คณะทำงานปกปักทรัพยากรท้องถิ่น คณะทำงานชุดนี้จะแสวงหาพื้นที่ที่เป็นที่สาธารณะประโยชน์ที่อยู่ในความดูแลของอบต. เข้าร่วมกิจกรรมนี้  ในการรักษาป่าธรรมชาติดั้งเดิม เพื่อรักษาทรัพยากรดั้งเดิม พืช สัตว์ จุลินทรีย์ ฯลฯ เช่น พื้นที่ป่าชุมชน พื้นที่สาธารณประโยชน์  (ไม่จำเป็นต้องเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ อาจเป็นพื้นที่เล็ก  10 -20 ไร่  ของเขตในหมู่บ้านต่าง ๆ ก็ดำเนินการได้  แต่ต้องไม่เป็นพื้นที่มีปัญหามีการบุกรุกถือครอง ต้องมีการจัดการแก้ปัญหาให้เรียบร้อยก่อน  โดยจัดทำขอบเขตพื้นที่ ทำป้ายประกาศว่าเป็นพื้นที่สนองพระราชดำริในโครงการ อพ.สธ. เสร็จแล้วทำการสำรวจในพื้นที่ว่ามีทรัพยากรอะไรบ้าง  มีการจัดตั้งอาสาสมัครชาวบ้าน ชุมชน เพื่อดูแลรักษาพื้นที่
4.2 คณะทำงานสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรท้องถิ่น เป็นคณะทำงานที่ทำการสำรวจทรัพยากรท้องถิ่นตำบลท่าจะหลุง  โดยเฉพาะพื้นที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนา  การสร้างสวน การสร้างรีสอรท์
เพื่อทราบว่ามีพรรณพืชทรัพยากรชีวภาพ  และรวบรวมภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับพืช และทรัพยากรชีวภาพ
          4.3 คณะทำงานปลูกรักษาทรัพยากรท้องถิ่นตำบลท่าจะหลุง  อาจมีพื้นที่สามารถที่จะใช้ปลูกต้นไม้เพื่อฟื้นฟูสภาพป่า  พื้นที่ที่จะปลูกรักษาพรรณพืชที่มีโอกาสสูญพันธ์  เมื่อมีการปลูกรักษาแล้วมีการศึกษาติดตามการเจริญเติบโต
          4.4 คณะทำงานอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่น มีการอนุรักษ์พันธุ์พืชที่มีโอกาสสูญพันธุ์
อาจมีการฟื้นฟูบำรุงรักษา ขยายพันธุ์เพิ่มขึ้น และแจกจ่ายให้กับชุมชนตำบลท่าจะหลุง สร้างจุดขายท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
          4.5 คณะทำงานศูนย์ข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น ทำการบันทึกรวบรวมข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
เป็นที่เก็บรวบรวมข้อมูลทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ  และทรัพยากรวัฒนธรรมภูมิปัญญา จากคณะทำงานต่างๆ และการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช (งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน)
          4.6 คณะทำงานสนับสนุนในการอนุรักษ์และจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น เป็นคณะทำงานที่จะสนับสนุนการดำเนินการ  ฐานทรัพยากรท้องถิ่น อพ.สธ ตำบลท่าจะหลุง
          4.6.1 สนับสนุนการอนุรักษ์และจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น (งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน)
          4.6.2 สนับสนุนในเรื่องงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ การอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
-9-
          5.แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น
          6.ดำเนินการประชุมคณะกรรมการแต่ละคณะ เพื่อดำเนินการวางแผนการบริหารและแผนการดำเนินงานการจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น
          6.1 แผนการดำเนินงานด้านการบริหาร
          6.2 แผนการดำเนินงานการจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น
          6.3 การจัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน
         
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและดำเนินการต่อไป


 
 
(ลงชื่อ).............................................................
   (นางอำไพ   สังเกตุ)
  หัวหน้าส่วนการเกษตร
 
 
    (ลงชื่อ)...................................................
 (นายราเชนทร์   ประกอบกิจ)
  ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง
 
 
 (ลงชื่อ)...........................................................
(นายมานิตย์    นิจกระโทก)
    นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง  


    เอกสารประกอบ

รายงานการเข้าร่วมฝึกอบรมปฏิบัติการโครงการอนุรักษ์พ
 
    วันที่ลงข่าว
: 4 มี.ค. 2559
    ผู้ลงข่าว : ผู้ดูแลระบบ