องค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา : www.thajalung.go.th

 
 
ข่าวประชาสัมพันธ์


ประชาสัมพันธ์การฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ

    รายละเอียดข่าว

ประชาสัมพันธ์การฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ
หลากหลายประเด็นเกี่ยวกับ “วัคซีน”
ภญ.อัมพร อยู่บาง
     เมื่อกล่าว “วัคซีน” คงไม่มีใครไม่รู้จัก แต่ทั้งแพทย์ พยาบาล หรือเภสัชกร ยังคงถูกถามเกี่ยวกับวัคซีนในแง่มุมต่างๆ อยู่เสมอ ได้แก่
มีวิธีอื่นอีกหรือไม่ในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
     วัคซีน นับเป็นวิธีหนึ่งในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดีขึ้นมาต่อสู้กับเชื้อโรค แต่วิธีนี้อาจใช้เวลานานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนกว่าร่างกายจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาในปริมาณมากพอที่จะป้องกันโรคได้ แต่ก็มีอีกวิธีซึ่งเปรียบเหมือนทางลัด คือการให้ภูมิคุ้มกันชนิดสำเร็จรูปหรือที่เรียกเป็นภาษาทางการแพทย์ว่า อิมมูโกลบุลิน (immunoglobulins) ซึ่งเมื่อให้อิมมูโกลบุลินเข้าสู่ร่างกายจะสามารถออกฤทธิ์ต่อต้านเชื้อโรคได้ทันที
วัคซีนมีกี่ประเภท
     การแบ่งประเภทของวัคซีนอาจทำได้หลายวิธี ตามหลักวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข การจัดกลุ่มหรือแยกประเภทของวัคซีนจะอาศัยวิธีการผลิต หรือแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศ 

      เมื่อใช้วิธีการผลิตเป็นตัวจำแนก จะได้วัคซีน 3 ประเภทคือ http://www.healthtoday.net/thailand/images1/issue88/pharmcy_882.jpg

      http://www.healthtoday.net/thailand/images/gim1.gif วัคซีนประเภทท็อกซอยด์ (Toxoid) คือ วัคซีนที่ผลิตขึ้นโดยนำพิษของเชื้อโรคมาทำให้หมดฤทธิ์ไป แต่ยังสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ ใช้สำหรับโรคติดเชื้อที่เกิดจากพิษของเชื้อ ได้แก่ โรคคอตีบ และโรคบาดทะยัก 

      http://www.healthtoday.net/thailand/images/gim1.gif วัคซีนเชื้อตาย (Killed vaccine) คือ วัคซีนที่ผลิตขึ้นโดยใช้เชื้อโรคทั้งตัวหรือเฉพาะชิ้นส่วนของเชื้อโรคที่ตายแล้ว เช่น วัคซีนไทฟอยด์ วัคซีนอหิวาต์ วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า วัคซีนตับอักเสบบี วัคซีนไอกรน วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี วัคซีนตับอักเสบเอ วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น

      http://www.healthtoday.net/thailand/images/gim1.gif วัคซีนเชื้อเป็น (live vaccine) คือ เป็นวัคซีนที่ผลิตโดยนำจุลชีพจากธรรมชาติ ที่ยังมีฤทธิ์ก่อให้เกิดโรคมาทำให้อ่อนฤทธิ์หรือลดความรุนแรงลง แต่ยังสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ เช่น วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม และวัคซีนอีสุกอีใส เป็นต้น 


      เมื่อใช้แผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศ จำแนกวัคซีนได้เป็น 4 ประเภทคือ

     1. วัคซีนพื้นฐาน หรือวัคซีนภาคบังคับ คือ วัคซีนที่ได้รับการบรรจุในแผนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศ แนะนำให้ใช้ในเด็กไทยทุกคน ได้แก่ วัคซีนบีซีจี วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน วัคซีนตับอักเสบบี วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม วัคซีนโปลิโอชนิดกิน และวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี


      2. วัคซีนเผื่อเลือก คือ วัคซีนที่มีประโยชน์ แต่โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนเหล่านี้ยังไม่มีความสำคัญด้านสาธารณสุขในลำดับต้นๆ รวมทั้งวัคซีนมีราคาสูงซึ่งยังไม่สามารถสร้างความมั่นใจเรื่องความคุ้มค่าหากนำมาใช้กับเด็กทั้งประเทศ รัฐบาลจึงไม่ได้จัดสรรงบประมาณให้กับวัคซีนกลุ่มนี้ สำหรับประชาชนที่ต้องการฉีดมักต้องเสียค่าใช้จ่ายด้วยตนเอง ได้แก่ วัคซีนตับอักเสบเอ วัคซีนอีสุกอีกใส วัคซีนฮิบ วัคซีนนิวโมคอคคัส วัคซีนโรคตา และวัคซีนมะเร็งปากมดลูก นอกจากนี้ วัคซีนเผื่อเลือกยังหมายรวมถึงวัคซีนที่ได้รับการพัฒนาเพื่อให้มีผลข้างเคียงลดลง ซึ่งนิยมใช้ในประเทศพัฒนาแล้ว และมีการนำเข้ามาใช้ในประเทศไทย เช่น วัคซีนโปลีโอชนิดฉีด และวัคซีนไอกรนชนิดไม่มีเซลล์
คาดว่าในอนาคตวัคซีนเผื่อเลือกบางชนิดอาจถูกจัดให้เป็นวัคซีนพื้นฐาน ซึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาอย่างรอบด้านถึงความคุ้มค่าที่จะได้รับ 


     3. วัคซีนพิเศษ  คือ วัคซีนที่มีข้อบ่งชี้ชัดเจนเพื่อใช้ในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรค หรือหากเกิดโรคอาจมีอาการและภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น วัคซีนนิวโมคอคคัสสำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีม้าม วัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง และผู้สูงอายุ วัคซีนพิษสุนัขบ้าสำหรับผู้ที่ถูกสัตว์กัด วัคซีนไทฟอยด์สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไทฟอยด์ วัคซีนไข้กาฬหลังแอ่นสำหรับผู้ที่จะเดินทางไปยังประเทศทางตะวันออกกลาง เป็นต้น 


     4. วัคซีนที่อยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนา คือ วัคซีนที่มีความสำคัญในการป้องกันโรคที่กำลังเป็นปัญหาในหลายประเทศ และยังอยู่ในขั้นตอนของการวิจัย การผลิต หรืออยู่ระหว่างการทดลองในอาสาสมัคร เช่น วัคซีนไข้เลือดออก วัคซีนมาลาเรีย วัคซีนเอดส์ เป็นต้น 
ผู้ใหญ่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนหรือไม่
     กระทรวงสาธารณสุขได้มีการบรรจุวัคซีนพื้นฐาน หรือวัคซีนภาคบังคับไว้ในแผนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศมานานหลายสิบปีแล้วและค่อยๆ เพิ่มชนิดวัคซีนที่ค้นพบใหม่เข้าไปเรื่อยๆ จนครอบคลุมโรคที่สำคัญๆ เกือบทุกโรคในปัจจุบัน ทำให้ปัจจุบันเด็กไทยแทบทุกคนล้วนได้รับวัคซีนกันถ้วนหน้า ส่งผลให้โรคติดต่อร้ายแรงต่างๆ ลดลงอย่างมาก อย่างไรก็ตามหลังจากที่มีการให้วัคซีนกับเด็กไปนานหลายสิบปี กระทั่งเด็กเหล่านี้เริ่มเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ภูมิคุ้มกันโรคที่เกิดจากการฉีดวัคซีนเหล่านั้นบางชนิดก็ยังคงมีระดับสูงเพียงพอในการป้องกันโรค แต่บางชนิดก็มีระดับภูมิคุ้มกันลดลงจนไม่เพียงพอสำหรับการป้องกันโรคแล้ว จึงต้องมีการให้วัคซีนกระตุ้นซ้ำอีก 


      ดังนั้นใครที่คิดว่าวัคซีนเป็นของที่ไม่จำเป็นสำหรับผู้ใหญ่ก็เข้าใจผิดนะคะ เพราะความเป็นจริงแล้ว วัคซีนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ใหญ่ ด้วยเช่นกัน ซึ่งการให้วัคซีนบางชนิดมีความมุ่งหวังเพื่อให้เกิดประโยชน์ในผู้ใหญ่เป็นสำคัญ เช่น วัคซีนอีสุกอีใส วัคซีนตับอักเสบเอ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนนิวโมคอคคัส เนื่องจากการเกิดโรคเหล่านี้ในผู้ใหญ่อาจมีอาการรุนแรงมาก ดังนั้นวัคซีนจึงมิได้เป็นประโยชน์เฉพาะในเด็ก แต่หากจำเป็นและมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน
วัคซีนสำหรับผู้ใหญ่ มีอะไรบ้าง
     วัคซีนสำหรับผู้ใหญ่นั้นมีหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่

     http://www.healthtoday.net/thailand/images/gim1.gifวัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก (Diphtheria-Tetanus-Pertussis vaccine; DTP) 

      http://www.healthtoday.net/thailand/images/gim1.gif วัคซีนตับอักเสบบี (Hepatitis B vaccine)

      http://www.healthtoday.net/thailand/images/gim1.gif วัคซีนตับอักเสบเอ (Hepatitis A vaccine)

      http://www.healthtoday.net/thailand/images/gim1.gif วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม (Measles-Mumps-Rubella vaccine ; MMR)

      http://www.healthtoday.net/thailand/images/gim1.gif วัคซีนอีสุกอีใส งูสวัด (Varicella vaccine)

      http://www.healthtoday.net/thailand/images/gim1.gif วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Influenza vaccine)

      http://www.healthtoday.net/thailand/images/gim1.gif วัคซีนพิษสุนัขบ้า (Rabies vaccine) 

      http://www.healthtoday.net/thailand/images/gim1.gif วัคซีนมิวโมคอคคัส (Pneumococcal vaccine)

      http://www.healthtoday.net/thailand/images/gim1.gif วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก อันมีสาเหตุมาจากไวรัสหูด (Human Papillomavirus vaccine)

การฉีดวัคซีนชนิดรวมหลายโรคในเข็มเดียว มีข้อดีข้อเสียอย่างไร 
      ในปัจจุบันวัคซีนรวมได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากทำให้เด็กเจ็บตัวน้อยลงและเป็นการลดจำนวนครั้งในการพบแพทย์ วัคซีนรวมมีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับวัคซีนแยกและบางครั้งก็อาจทำให้เด็กได้รับวัคซีนบางอย่างมากเกินไป ขณะเดียวกันการแยกฉีดวัคซีนทีละเข็มอาจทำให้เด็กเจ็บหลายครั้ง หรืออาจเพิ่มจำนวนในการมาพบแพทย์ แต่เด็กในขวบปีแรกส่วนใหญ่จะไม่มีความทรงจำถึงความเจ็บปวดที่อาจจะได้รับบ้าง  กรณีที่เป็นการไปรับบริการในโรงพยาบาลของรัฐ การแยกฉีดวัคซีนแยกแต่ละชนิดจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากการให้วัคซีนพื้นฐานเป็นบริการที่รัฐจะไม่คิดค่าใช้จ่าย พ่อแม่จึงเพียงแต่จ่ายเงินเพิ่มเติมสำหรับวัคซีนเผื่อเลือกเท่านั้น แต่หากเลือกฉีดวัคซีนรวมจะต้องจ่ายเงินเพิ่มเป็นพิเศษ นอกจากนี้ระดับภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนแยกแต่ละชนิดอาจสูงกว่าการฉีดวัคซีนรวมเล็กน้อย 
วัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันโรคไข้หวัดนกได้จริงหรือ
     วัคซีนไข้หวัดใหญ่ไม่สามารถป้องกันโรคไข้หวัดนกได้ แต่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แก่ บุคคลบุคลาการทางการแพทย์ที่ต้องดูแลผู้ป่วยไข้หวัดนก หรือเจ้าหน้าที่ซึ่งต้องเข้าไปทำลายสัตว์ปีกที่เป็นโรค เพื่อป้องกันไม่ให้คนเหล่านั้นป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่คนและไข้หวัดนกในเวลาเดียวกัน ซึ่งจะเป็นการลดโอกาสของการที่จะเกิดการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมระหว่างไวรัสทั้งสองชนิด แล้วกลายมาเป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่ตัวใหม่ที่อาจก่อโรครุนแรงได้

หากลืมมาฉีดวัคซีนตามนัดจะทำอย่างไร 
     กรณีไม่ได้มาฉีดวัคซีนตามกำหนดเวลาสามารถฉีดวัคซีนต่อจากครั้งก่อนได้เลย ไม่ว่าจะห่างจากกำหนดเดิมไปนานเท่าใด ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นใหม่และให้เว้นช่วงของการฉีดครั้งต่อไปเหมือนเดิม
วัคซีนไทฟอยด์หายไปไหน คนไทยยังต้องฉีดหรือไม่
     ปัจจุบันพบผู้ที่ป่วยเป็นไทฟอยด์ในประเทศไทยน้อยมาก ประกอบกับประสิทธิภาพในการป้องกันโรคของวัคซีนไทฟอยด์ไม่ค่อยดีนัก และภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นอยู่ได้เพียง 3 ถึง 5 ปี ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะให้วัคซีนไทฟอยด์ในเด็กไทย แต่แนะนำให้ใช้เป็นวัคซีนพิเศษสำหรับผู้ที่จะเดินทางไปยังพื้นที่ซึ่งมีโรคไทฟอยด์เป็นโรคประจำถิ่นโดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งพบการดื้อยาของเชื้ออยู่เป็นประจำ ซึ่งอาจมีปัญหาในการรักษา เช่น ประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ อินโดนีเซีย เป็นต้น
จะไปเที่ยวต่างประเทศควรฉีดวัคซีนอะไรเพิ่มเติมเป็นพิเศษหรือไม่
     การให้วัคซีนเพิ่มเติมสำหรับนักเดินทางเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งนี้ขึ้นกับว่าประเทศนั้นๆ มีโรคใดเป็นโรคประจำถิ่นและหรือกำลังเกิดระบาดในช่วงเวลานั้น เช่น ควรได้รับวัคซีนไทฟอยด์และวัคซีนอหิวาตกโรคหากจะเดินทางไปประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ และอินโดนีเซีย หรือควรได้รับวัคซีนไข้กาฬหลังแอ่นก่อนเดินทางไปประเทศซาอุดิอาระเบียหรือประเทศใกล้เคียง การได้รับวัคซีนก็มิใช่คำตอบสุดท้ายของการป้องกันโรคทุกโรค คุณควรปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม เช่น รับประทานอาหารและดื่มน้ำสะอาด หลีกเลี่ยงการไปยังสถานที่แออัด หลีกเลี่ยงการถูกสัตว์หรือแมลงกัด จึงจะช่วยให้ท่านปลอดภัยจากความเจ็บป่วย




มีข้อควรระวังอะไรบ้างเกี่ยวกับรับวัคซีน
     1. กรณีเพิ่งได้รับเลือด ผลิตภัณฑ์จากเลือด หรืออิมมูโนโกลบุลิน ไม่ควรให้วัคซีนเชื้อเป็นเพราะอาจไม่ได้ผลหรือได้ผลไม่ดี ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไป

      2. หากแพ้วัคซีนหรือส่วนประกอบของวัคซีน ควรหลีกเลี่ยงการให้วัคซีนนั้นๆ ผู้ที่แพ้ไข่ชนิดรุนแรงไม่ควรให้วัคซีนที่ผลิตจากไข่ เช่น วัคซีนคางทูม วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 

      3. กรณีมีไข้ ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไป โดยเฉพาะกรณีไข้สูงและวัคซีนที่ใช้อาจทำให้เกิดไข้ แต่ถ้าเป็นการเจ็บป่วยธรรมดา เช่น เป็นหวัด น้ำมูกไหล สามารถให้วัคซีนได้ 

      4. ผู้หญิงที่ได้รับวัคซีนหัดเยอรมันหรือวัคซีนเชื้อเป็นชนิดอื่น ควรคุมกำเนิดหลังได้รับวัคซีนนาน 1 เดือน 

      5. สตรีมีครรภ์ไม่ควรไดรับวัคซีนเชื้อเป็น

      6. ผลการให้วัคซีนในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอาจไม่ดี และให้หลีกเลี่ยงวัคซีนเชื้อเป็นเพราะอาจเกิดอาการข้างเคียงรุนแรง 

      7. ผู้ที่ได้รับยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน ไม่ควรให้วัคซีนเชื้อเป็นจนกว่าจะหยุดการใช้ยาแล้วระยะหนึ่ง


เอกสารอ้างอิง
     1. หนังสือ " วัคซีน....น่ารู้ " สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
 


    เอกสารประกอบ

ประชาสัมพันธ์การฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ
 
    วันที่ลงข่าว
: 23 มี.ค. 2558
    ผู้ลงข่าว : ผู้ดูแลระบบ